บทที่ 3
แผ่นดินไหว
- แผ่นดินไหว เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีสาเหตุมาจากการปลดปล่อยพลังงานจากความเครียดที่เก็บอยู่ในหินใต้ผิวโลกอย่างทันทีทันใด กล่าวคือเป็นกระบวนการที่พื้นที่บนโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเด่นชัด เมื่อแรงเค้น (Stress) ที่เกิดขึ้นตามรอยแตก หรือรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นบนเปลือกโลก ภายในโลกถูกปลดปล่อยขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก
- ตำแหน่งที่กำเนิดคลื่น ความไหวสะเทือนใต้ผิวโลก เรียกว่าศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว (focus) โดยที่ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดโฟกัสเรียกว่าจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว(epicenter) คลื่นความไหวสะเทือนที่ออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
-คลื่นที่แผ่จากจุดกำเนิดการสั่นสะเทือนมายังเปลือกโลกได้ เรียกคลื่นนี้ว่า คลื่นในตัวกลาง (Body wave)
คลื่นไหวสะเทือน
คลื่นไหวสะเทือนมี 2 แบบ
1. คลื่นในตัวกลาง
-คลื่นปฐมภูมิ ( P wave)
-คลื่นทุติยภูมิ( S wave)
2.คลื่นพื้นผิว
-คลื่นเลิฟ (L wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนภาคของตัวกลางสั่นในแนวราบ โดยมีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่นที่ของคลื่น สามารถทำให้ถนนขาดหรือแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล
คลื่นเรย์ลี่ (R wave)
เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น ม้วนตัวขึ้นลงเป็นรูปวงรี ในแนวดิ่ง โดยมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถทำให้เกิดพื้นผิวแตกร้าว และเกิดเนินเขา
บริเวณที่มักเกิดแผ่นดินไหว
ตำแหน่งของศุนย์เกิดแผ่นดินไหวมีความสัมพันธ์กับแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาค ซึ่งแนวรอยต่อสำคัญที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวมี 3 แนว
1. แนวรอยต่อที่ล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นสาเหตุของแผ่นดินไหว 80% ซึ่งมักจะรุนแรง เรียกบริเวณนี้ว่า วงแหวนแห่งไฟ (ring of fire) ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ตะวันตกของแม็กซิโก
2.แนวรอยต่อภูเขาแอลป์และภูเขาหิมาลัย เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดิวไหว 15% ได้แก่ พม่า อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรป
3.แนวรอยต่อที่เหลือเป็นสาเหตุของอีก 5% ของแผ่นดินไหว ได้แก่ บริเวณสันกลางมหาสมุทรต่างๆ ได้แก่ บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก แนวสันเขาในมหาสมุทรอินเดีย
** ไซโมกราฟ (Seismo-graph) เป็นเครื่องมือบันทึกข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหว***
ความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว
- ขึ้นกับปริมาณพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
- กำหนดดจากผลกระทบหรือบทความเสียหายที่เกิดบนผิวโลก ณ จุดสังเกต
- หน่วยวัดความรุนแรงของแผ่นดิวไหวคือ ริกเตอร์ (Richter) ตามชื่อของ ( Charies F.Richter)
-แผ่นดินไหวน้อยกว่า 2.0 ริกเตอร์ เป็นแผ่นดิวไหวขนาดเล็ก
-แผ่นดินไหวมากกว่า6.0 ริกเตอร์ เป็นแผ่นดิวไหวรุนแรง
มาตรเมอร์คัลลี
คือมาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว
ซึ่งกำหนดจากผลกระทบ
หรือความเสียหาย แบ่งเป็น
12 ระดับ
แผ่นดินไหวในประเทศไทย
- พ.ศ. 1003 ที่เวียงโยนกทำให้เวียงโยนกยุบจมลงกลายเป็นหนองน้ำใหม่
-พ.ศ. 1077 ยอดเจดีย์หักลงสี่แห่ง
-พ.ศ.2088 ที่นครเชียงใหม่ ยอดเจดีย์หลวงหักลงมา
- พ.ศ.2506 มีแผ่นดินไหวรู้สึกได้ที่กรุงเทพมหานคร
-พ.ศ.2518 ศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ ที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
-พ.ศ. 2526 รู้สึกได้ในภาคกลางและเหนือ
-รอยเลื่อนมีพลัง (Active fault)
คือแนวรอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่เคลื่อนที่ได้ ในประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่อยู่บริเวณภาคเหนือ และด้านตะวันตกของประเทศ
- คาบอุบัติซ้ำ
คือระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้นมาก่อน อาจมีระยะเป็นพันปีหรือร้อยปี หรือน้อยกว่านั้น
การปฏิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหว
1. คุมสติอย่าตื่นตระหนกเกินเหตุ หยุดการใช้ไฟฟ้า และไฟจากเตาแก๊สและควรมีไฟฉายประจำตัวอยู่ภายในบ้าน
2.ถ้าอยู่ภายในบ้าน ควรอยู่ห่างจากประตู หน้าต่าง กระจก และระเบียงบ้าน ระวังอย่าให้ของใช้ในบ้านหล่นทับ โดยอาจมุดอยู่ใต้โต๊ะ
3.ถ้าอยู่ในตึกสูง ให้มุดลงไปใต้โต๊ะที่แข็งแรงเพื่อป้องกันสิ่งของร่วงหล่นใส่ อย่าวิ่งออกไปภายนอก เพราะบันไดอาจพังลงได้ และห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด
4. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
5.หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
6.ติดตามสถานการณ์ แผ่นดินไหวจากสิ่งต่างๆ เพื่อนเตรียมพร้อมและวางแผนเตรียมรับภัยจากแผ่นดินไหวได้อย่างมีสติและปลอดภัย
ภูเขาไฟ
-ปัจจุบันทั่วโลกมีภูเขาไฟมีพลังอยู่ประมาณ 1000-1500 ลูก และกระจายอยู่ในบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีภาคโดยเฉพาะบริเวณวงแหวนแห่งไฟ
-การระเบิดของภูเขาไฟเกิดจากการปะทุของแมกมา แก๊ส เถ้าจากใต้พื้นโลก
-ขณะระเบิดแมกมาจะขึ้นมาตามปล่องภูเขาไฟ
-เมื่อหลุดออกมานอกภูเขาไฟจะเรียก แมกมานั้นว่า ลาวา (Lava) มีอุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียล
การระเบิดของภูเขาไฟ
-เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลกโดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ
หินอัคนี
- แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
1.เย็นตัวใต้พื้นโลก → เย็นตัวช้า → เนื้อหยาบ ⇒ หินอัคนีแทรกซอน
2.เย็นตัวบนผิวโลก → เย็นตัวเร็ว → เนื้อละเอียด ⇒ หินอัคนี (หินภูเขาไฟ)
หินภูเขาไฟ (หินอัคนีพุ)
-ความพรุนของหิน ขึ้นอยู่กับ อัตราการเย็นตัวของลาวา
-ตัวอย่างของหินจากภูเขาไฟ เช่น หินบะซอลต์ หินพัมมิซ หินแก้ว หินทัฟฟ์ หินออบซีเดียน
หินบะซอลต์
-เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่ผิวโลก ทำให้มีการเย็นตัวเร็ว ลักษณะของหินจะมีเม็ดละเอียดกว่าหินแกรนิต และมีรูพรุนเล็กน้อย
-เป็นต้นกำเนิดอัญมณีที่สำคัญ
-ถ้ามีปริมาณของ Si จะเป็นหินแอนดีไซด์
-เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของลาวา ทำให้มีความพรุนสูง บางชิ้นลอยน้ำได้
-นำมาใช้เป็นหินขัดตัว
ภูมิลักษณ์ของภูเขาไฟ
1. ที่ราบสูงบะซอลต์ เกิดจากลาวาแผ่เป็นบริเวณกว้าง ทับถมกันหลายชั้น กลายเป็นที่ราบและเนินเขา
2. ภูเขาไฟรูปโล่ เกิดจากลาวาของหินบะซิลต์ระเบิดออกมาแบบมีท่อปล่องภูเขาไฟเล็กๆ บนยอดจะจมลงไป เช่น ภูเขาไฟมัวนาลัว ในหมู่เกาะฮาวาย
3. ภูเขาไฟรูปกรวย เป็นรูปแบบภูเขาไฟที่สวยงามที่สุด เกิดจากการทับถมสลับกันระหว่างการไหลของลาวา กับชิ้นส่วนภูเขาไฟ เช่น ภูเขาไฟฟูจิยามา อยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ภูเขาไฟในประเทศไทย
- ประเทศไทยอยู่นอกเขตการมุดตัวของแผ่นธรณีภาค แต่เคยมีการระเบิดของภูเขาไฟมาก่อน บริเวณที่พบหินภูเขาไฟ ได้แก่ จังหวัด ลพบุรี กาญจนบุรี ตราด สระบุรี ลำปาง สุรินทร์ และศรีสะเกษ ภูเขาไฟที่สำรวจพบส่วนใหญ่มีรูปร่างไม่ชัดเจน ที่มีรูปร่างชัดเจนมากที่สุด ได้แก่
ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น