บทที่ 6
บทที่ 6
ดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ (Star )
-ดาวฤกษ์ คือ ก้อนแก๊สร้อนขนาดใหญ่มีไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่
-ดาวฤกษ์ต่างจากดาวเคราะห์ที่สามารถผลิตพลังงานได้ด้วยตัวเองจึงสามารถเปล่งแสงได้
-ดาวฤกษ์ทุกดวงยกเว้น ดวงอาทิตย์ปรากฎเป็นจุดสว่างบนท้องฟ้าซึ่งกระพริบได้เนื่องจากผลของบรรยากาศโลกและระยะห่างจากโลก
-ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์เช่นกัน แต่อยู่ใกล้เราจนปรากฎเป็นแผ่นกลมแทนที่จะเป็นจุด
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
-ดาวฤกษ์เกิดจากการยุบตัวของเนบิวลา
-ปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นบนดาวฤกษ์เรียกว่า เทอร์โมนิวเครียร์หรือ นิวเคลียร์แบบฟิวชั่น
-วิิัฒนาการและจุดจบของดาวฤกษ์แต่ละดวงขึ้นอยู่กับมวลของดาวฤกษ์
-ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย เช่นดวงอาทิตย์จะใช้เชื้อเพลิงในอัตราน้อย มีชีวิตยืนยาวมีจุดจบเป็นดาวแคระขาว
-ดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก มีความสว่างมาก ใช้เชื้อเพลิงในอัตราสูง มีชีวิตสั้น
-จุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมีการระเบิดอย่างรุนแรง เรียกว่า ซุปเปอร์โนวา Supernova
-จาก Supernova ดาวฤกษ์จะยุบตัวด้วยแรงโน้มถ่วงและกลายเป็นดาวนิวตรอน หรือ หลุมดำ
-การระเบิดของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากนี้ก่อให้เกิดนิวเคลียสของธาตุหนักเช่น ทองคำ ยูเรเนียม
ดวงอาทิตย์
-ดวงอาทิตย์มีมวลไม่มากพอที่จะระเบิดเพื่อทำให้นิวเคลียสของธาตุหนักได้
-ดวงอาทิตย์มีอายุมาแล้ว 5,000 ล้านปี และจะมีชีวิตต่อไปอีก 5,000 ล้านปี
-พลังงานในดวงอาทิตย์ได้มาจากปฏิกิริยา เทอร์โนนิวเคลียร์หรือนิวเคลียแบบฟิวชั่น หาได้จาก E=mc^2
-เมื่อใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนหมดแกนกลางจะยุบตัว เกิดจากการเผาผลาญฮีเลียม แล้วจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นเป็น ดาวยักษ์แดง
-เมื่อเชื้อเพลิงฮีเลียมที่ใจกลางหมด ดาวจะยุบตัวลงอีกครั้งขณะขณะที่แก๊สรอบนอกจะขยายตัวออกเป็นเนบิวลา
-ดาวแคระขาวจะมีความแน่นสูงมาก แต่จะมีมวลสารไม่เกิน 1.4 เท่าของดวงอาทิตย์อุณหภูมิที่ผิวประมาณ 30,000 ถึง 200,000 เคลวิน
ความสว่างและอันดับความสว่างของดาวฤกษ์
-ความสว่างของดาวฤกษ์เป็นปริมาณพลังงานแสงจากดาวฤกษ์ดวงนั้นใน 1 วินาทีต่อ 1 หน่วยพื้นที่
-อันดับความสว่าง (โชติมาตร) เป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้นโดยมีหลักว่า ดาวฤกษ์ริบหรี่ที่สุดที่ตาเปล่ามองเห็น มีอันดับความสว่างและดาวฤกษ์สว่างที่สุดมีอันดับความสว่าง 1
-อันดับความสว่างเป็นตัวเลขที่ไม่มีหน่วย
➽ อันดับความสว่างต่างกัน 1 สว่างต่างกัน 2.5 เท่า
➽ อันดับความสว่างต่างกัน 2 สว่างต่างกัน (2.5)^2 เท่า
➽ อันดับความสว่างต่างกัน n สว่างต่างกัน (2.5)^n เท่า
สีและอุณหภูมิของดาวฤกษ์
-สีของดาาวฤกษ์จะมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่ผิว และอายุของดาว
-นักดาราศาสตร์จำแนกดาวฤกษ์ออกเป็นกลุ่มตามสี หรืออุณหภูมิพื้นผิว จำง่ายๆคือ
Oh Be A Fine Girl Kiss Me
-ดาวที่มีสีน้ำเงิน จะมีอุณหภูมิผิวสูง อายุน้อย
-ดาวที่มีสีส้มแดง จะมีอุณหภูมิผิวต่ำ อายุมาก
-ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีอุณหภูมิผิวประมาณ 6,000 เคลวิน
ระยะทางในดราศาสตร์
1 หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit ) มีค่าเท่ากับระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก หรือ 150 ล้านกิโลเมตร เป็นหน่วยที่ใช้มากในการบอกระยะห่างภายในระบบสุริยะ
1 ปีแสง (Light year) คือ ระยะทางที่แสงเดินทางใช้เวลา 1 ปี คิดเป็นระยะทาง 9.5 x 10^12 กิโลเมตร หรือ 63072 A.U.
1 พาร์เซก (Parsec) ระยะทางจากโลกถึงดาวที่มีมุมแพรัลแลกซ์เท่ากับ 1 พิลิปดา คิดเป็นระยะทาง 206265 A.U หรือ 3.26 ปีแสง
ระยะห่างของดาวฤกษ์
เนบิวลา
เนบิวลาคือกลุ่มฝุ่นแก๊สขนาดใหญ่โตมาก ประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม
เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์
เมื่อมองด้วยตาเปล่าหรือใช้กล้องสองตาจะเป็นฝ้า ขาวจางๆ
เนบิวลาสว่างประเภทเรืองแสง (Emission nebula)
เนบิวลาแบบนี้จะเรืองแสงขึ้นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นอะตอมไฮโดรเจน
ซึ่งจะปล่อยแสงสีแดง
เช่น เนบิวลาดาวนายพราน เนบิวลานกอินทรี เนบิวลาสามแฉก
เนบิวลาปู
เนบิวลาผ้าคลุมไหล่
เนบิวลาสว่างประเภทสะท้อนแสง
เนบิวลาประเภทนี้คล้ายกับประเภทเรืองแสงมากองค์ประกอบของฝุ่นผงเป็นส่วนใหญ่คล้ายควันบุหรี่ ซึ่งจะให้แสงสีน้ำเงินออกมาเช่น เนบิวลาในกระจุกดาวลูกไก่
เนบิวลาดาวเคราะห์
-เนบิวลาประเภทนี้จะเกิดในช่วงสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย
-Planetary nebula ในเอกภพนั้นมีเยอะแยะมากมาย เพราะดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะมีขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ แต่เป็นที่น่าประหลาดใจมากกว่ารูปร่างของ Planetary nebula กลับมีหลากหลาย
เนบิวลามืด (Dark nebula)
โดยทั่วไปเนบิวลามืดมักจะอยู่รวมกับเนบิวลาสว่าง เพราะเราจะสามารถมองเห็นเนบิวลามืดได้เพราะส่วนที่เป็นเนบิวลามืดนั้น จะดูดกลืนแสงจากฉากด้านหลัง ไม่ให้เข้าตาเรา คล้ายกับว่ามีวัตถุทึบแสงกันอยู่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น