บทที่ 7
บทที่ 7
ระบบสุริยะ
-ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ในกาแล็กซีทางช้างเผือก ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มแก๊ส เมื่อกลุ่มแก๊สรวมตัวจะมีบางแก๊สบางส่วนเหลือกลายเป็นฝุ่นผงล้อมรอบดวงอาทิตย์อยู่ เมื่อเวลาผ่านไปกลุ่มแก๊สนี้จะรวมตัวกันเกิดเป็นดาวบริวารต่างๆ
-กลุ่มแก๊สที่รวมตัวกันเกิดเป็นดาวบริวารนี้มักจะอยู่ในระนาบที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากการรวมตัวกันของแก๊สกลุ่มเดียวกัน
-ปัจจุบันดวงอาทิตย์มีดาวเคราะห์บริวาร 8 ดวง และมีดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต (Pluto) ซีรีส (Ceres) อีริส(Eris)
องค์ประกอบของระบบสุริยะ
ดวงอาทิตย์ มีลักษณะสำคัญดังนี้
- เป็นดาวฤกษ์สีเหลืองชนิดสเปกตรัม G อุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 6,000 K
- ดวงอาทิตย์คือผู้ใช้พลังชีวิตแก่โลก
-สิ่งที่ได้จากดวงอาทิตย์ ได้แก่ พลังงาน อนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอน เรียกว่า ลมสุริยะ
-ลมสุริยะที่มายังโลกจะถูกแรงแม่เหล็กจากสนามแม่เหล็กกระทำส่งผลให้เกิดแสงเหนือแสงใต้ ไฟฟ้าดับที่ประเทศขั้วโลก รวมถึงการสื่อสารขัดข้อง
นิยามของดาวเคราะห์
กำหนดโดยสมาพันธ์ดาราศาสตร์ระหว่างประเทศ มีสมบัติ 4 ข้อ
1.เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์) แต่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ และไม่ใช่ดาวบริวาร
2.มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกลม
3.มีวงโคจรที่จัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
4.มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร)
เขตของบริวารดวงอาทิตย์
1.ดาวเคราะห์ชั้นใน
2.แถบดาวเคราะห์น้อย
3.ดาวเคราะห์ชั้นนอก
4.ดาวหางหรือเมฆของออร์ต
เป็นวัตถุขนาดเล็กไม่มีแสงสว่าง แบ่งเป็น
1.ดาวตก หรือผีพุ่งไต้ เศษหินและโลหะขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่เผาไหม้หมด
2.อุกกาบาต เผาไหม้ไม่หมด
3.วัตถุในแถบคอยเปอร์ เป็นวัตถุที่อยู่ถัดไปจากดาวเนปจูนออกไปได้แก่ ดาวเคราะห์แคระ ดาวอีริส มีสมบัติเหมือนดาวเคราะห์น้อย
การแบ่งกลุ่มดาวเคราะห์ ตามวงโคจร
-แบ่งดาวเคราะห์ออกเป็น 2 กลุ่ม
ดาวเคราะห์วงใน คือ ดาวเคราะห์ที่มีรัศมีวงโคจรใกล้กว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธและดาวศุกร์ ดาวเคราะห์วงในจะปรากฏอยู่ด้านเดียวกับดวงอาทิตย์เสมอเมื่อสังเกตจากโลก ดังนั้นจะเห็นเฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น
ดาวเคราะห์วงนอก คือ ดาวเคราะห์ที่มีรัศมีวงโคจรมากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวเคราะห์แคระพลูโต ดาวเคราะห์วงนอกอาจจะปรากฏด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อสังเกตจากโลก
การแบ่งกลุ่มดาวเคราะห์ ตามองค์ประกอบ
แบ่งดาวเคราะห์ออกได้เป็น 2 กลุ่ม
ดาวเคราะห์หิน (ดาวเคราะห์ชั้นใน) ได้แก่ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นหินทำให้มีความแน่นเฉลี่ยอยู่ที่ 3.9-5.5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
ดาวเคราะห์แก๊ส (ดาวเคราะห์ชั้นนอก) ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจน และฮีเลียม ทำให้มีความหนาแน่นต่ำ ระหว่าง 0.7 ถึง 1.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
สำหรับดาวเคราะห์แคระพลูโต อาจจัดแยกออกเป็นดาวเคราะห์น้ำแข็.เนื่องจากองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทนและคาร์บอนมอนอกไซด์ในรูปน้ำแข็ง
ดวงอาทิตย์
1.แก่น
2.เขตการแผ่รังสี
3.เขตการพาความร้อน
บรรยากาศที่ห่อหุ้มดวงอาทิตย์
1.ชั้นโฟโตสเฟียร์ อุณหภูมิ 5,800 K
2.ชั้นโครโมสเฟียร์ อุณหภูมิ 25,000 K
3.ชั้นคอโรนา อุณภูมิ 2,000,000 K
ลมสุริยะ และพายุสุริยะ
-ลมสุริยะ คือ แก๊สที่ร้อนจรอะตอมแตกตัวเป็นอิเล็กตรอนและไอออบวก (e+p) จากชั้นคอโรนา ความเร็ว 200-900 km/h
- พายุสุริยะ มักเกิดจากจุดมืดดวงอาทิตย์ มีความรุนแรงมากกว่าลมสุริยะ ใช้เวลาเดินทางมาถึงโลก 20-40 ชม. ขณะที่แสงใช้เวลาเพียง 8.3 นาที
-จุดมืดดวงอาทิตย์มักเกิดทุกๆ 11 ปี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น