บทที่ 2

  โลกและการเปลี่ยนแปลง 







ทฤษฏีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค  ( Plate  tectonic )


-เสนอโดย   Dr. Alferd Wegener  ชาวเยอรมัน   
 -ทฤษฏี คือ   แผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า " พันเจีย  ( Pangaea ) ที่แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด 


 ต่อมา กอนด์วานาแตกออกเป็น  อินเดีย  อเมริกาใต้และแอฟฟริกา  ส่วนออสเตรเลียยังเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์วานา


200 ล้านปีก่อนพันเจียแยกอกเป็น  2 ทวีปใหญ่  ได้แก่  ลอเรเชียอยู่ทางเหนือ มียุโรปกับอเมริกาเหนือ  และทวีปกอนด์วานาอยู่ทางใต้ 



65  ล้านปีก่อน มหาสมุทรแอตแลนติกแยกตัวกว้างขึ้น  ทำให้แอฟริกาเคลื่อนตัวห่างจากอเมริกาใต้ 



ต่อมายุโรปและอเมริกาเหนือแยกออกจากกัน โดยอเมริกาเหนือโค้งเข้าเชื่อมกับอเมริกาใต้  และออสเตรเลียแยกออกจากแอนตาร์กติกา 



หลักฐานสนับสนุนทฤษฏีของเวเกเนอร์  
     -รอยต่อของแผ่นธรณีภาค   รูปร่างของทวีปเชื่่อมต่อกันได้พอดี  เช่นด้านตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้  เชื่อมต่อด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกาได้ดี  

*สาเหตุที่ต่อกันไม่สมบูรณ์  มาจากการกัดเซาะชายฝั่ง และการสะสมของตะกอน 



ความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหิน และแนวภูเขา  กลุ่มหินในอเมริกาใต้  แอนตาร์กติกา  แอฟริกา  ออสเตรเลีย  และอินเดียว  เป็นหินที่เกิดในยุคคาร์บอนเฟอรัสถึงยุคจูแรสซิกเหมือนกัน 



หลักฐานอื่นๆ ที่สนับสนุนการเคลื่นตัวของทวีป 

 





  - สันเขาใต้สมุทร และร่องลึกใต้สมุทร 








- หินที่เกิดการจากสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำแข็ง
-ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ พบซากดึกดำบรรพ์  4 ประเภท คือ มีโซซอรัส  ลีสโทรซอรัส  ไซโนกาทัส และกลอสโซเทรีส 






-อายุหินบริเวณพื้นมหาสมุทร  จากการสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิกแอตแลนติก และอินเดีย  พบหินบะซอลต์ที่บริเวณหุบเขาทรุดตัวและรอยแยกบริเวณสันเขาใต้สมุทร  


* ไกลรอยแยกอายุจะมาก
   ใกล้รอยแยกอายุจะน้อย 


-ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล  ศึกษาจากหินบะซอลต์ที่มีแร่แมกนีไทต์

กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี
  - วงจรการพาความร้อน  คือ สารร้อนภายในโลกไหลเวียนเป็นวงจร ทำให้เปลือกโลกกลางมหาสมุทรยกตัวขึ้น  เมื่อสารร้อนไหลเวียนขึ้นมาจะมีความหนาแน่เพิ่มขึ้น และมุดลงบริเวณร่องลึกใต้มหาสมุทร




แผ่นธรณีของโลก  




ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค 
           1.ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน
เป็นแนวขอบของแผ่นธรณีภาคที่แยกออกจากกัน  อันเนื่องมาจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค   ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง   จนแมกมาสามารถถ่ายโอนความร้อนสู่ชั้นเปลือกโลกได้อุณหภูมิและความดันของแมกมาจึงลดลงเป็นผลให้เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด


        2.ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน
   แนวที่แผ่นธรณีภาคชนหรือมุดซ้อนกันเป็นไปได้ 3 แบบ
 - แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร 
          แผ่นธรณีภาคหนึ่งจะมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง  ปลายของแผ่นที่           มุดลงจะหลอมตัวกลายเป้นแมกมาและปะทุขึ้นมาบดแผ่นธรณี          ภาคใต้มหาสมุทร  เกิดเป็นภูเขาไฟกลางมหาสมุทร เช่น ที่หมู่            เกาะมาริอานาส์ อาลูเทียน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ จะมีลักษณะเป็น              ร่องใต้ทะเลลึก  มีแนวการเกิดแผ่นดินไหวตามขอบแผ่นธรณี              ภาคลึกลงไปถึงชั้นเนื้อโลก  รวมทั้งมีภูเขาไฟที่ยังมีพลัง
- การชนกัน ระหว่างแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร
              แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกันแผ่นธรณีภาค ภาคพื้น                   ทวีป    แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรซึ่งหนักกว่าจะมุดลงใต้                   แผ่น ธรณีภาค ภาคพื้นทวีป  ทำให้เกิดรอยคดโค้งเป็นเทือก               เขาบนแผ่นธรณีภาค  ภาคพื้นทวีป เช่น ที่อเมริกาใต้ แถบ                  ตะวันตก  แนวชายฝั่งโอเรกอน จะมีลักษณะเป็นร่องใต้ทะเล              ลึก ตามแนวขอบทวีปมีภูเขาไฟปะทุในส่วนที่เป็นแผ่นดิน                  เกิดเป็นแนวภูเขาไฟชยฝั่ง เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง

-การเคลื่อนที่เข้าหากัน   ระหว่างแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรกับแผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป
             แผ่นธรณีภาค  ภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาค ภาคพื้น                   ทวีปอีกแผ่นหนึ่ง แผ่นธรณีภาคทั้งสองมีความหนามาก เมื่อ             ชนกันจึงทำให้ส่วนหนึ่งมุดลง อีกส่วนหนึ่งเกยกันอยู่เกิดเป็น              เทือกเขาสูงแนวยาวอยู่ในแผ่นธรณีภาค






3. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
              เนื่องจากอัตราการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากัน  ทำให้แผ่นธรณีภาคในแต่ละส่วนมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน   ทำให้เปลือกโลกใต้มหาสมุทรและบางส่วนของเทือกเขาใต้สมุทรไถลเลื่อนผ่านและเฉือนกัน  เกิดเป็นรอยเลื่อนเฉือนระนาบด้านข้างขนาดใหญ่ขึ้น  สันเขากลางมหาสมุทรถูกรอยเลื่อนขึ้นตัดเฉือนเป็นแนวเหลื่อมกันอยู่  มีลักษณะเป็นแนวรอยแตกแคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางสมุทรและหรือร่องใต้ทะเลลึก  ระหว่างขอบของแผ่นธรณีภาคที่ซ้อนเกยกัน ในบริเวณภาคพื้นทวีปหรือมหาสมุทร



การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเปลือกโลก 
     1.ชั้นหินคดโค้ง 
          
       2.รอยเลื่อน 
            














ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม