บทที่ 1

โครงสร้างโลก


คลื่นในตัวกลาง ( Body  wave)
     คลื่นในตัวกลางเดินผ่านไปภายในของโลกผ่านไปยังพื้นผิวโลกที่อยู่ตรงข้าม  มี 2 ลักษณะ 
  1.  คลื่นปฐมภูมิ( P wave ) 
  2.  คลื่นทุติยภูมิ  (S wave ) 




คลื่นปฐมภูมิ (P  wave ) 
           เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง  เคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็น ของเหลว ของแข็ง แก๊ส  มีความเร็วประมาณ  6-8 Km/s ทำให้เกิดการอัดหรือขยายตัวของชั้นหิน 

คลื่นทุติยภูมิ  ( S  wave )
           เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลางโดยเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน เคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็น ของแข็ง  เท่านั้น  มีความเร็วประมาณ  3-4 Km/s  ทำให้เกิดการคดโค้งของชั้นหิน  

การแบ่งโครงสร้างโลกตามลักษณะกายภาพ 
     แบ่งออกเป็น  5 ส่วน  ตามความเร็วของคลื่น  P  และ  S                    
    1.ธรณีภาค   (Lithosphere )  
          ประกอบด้วยเปลือกโลกทวีป และเปลือกโลกมหาสมุทร เคลื่อนที่ช้าลงจนถึงแนวแบ่งเขตโมโฮวิซิกที่อยู่ลึกประมาณ 100Km 
    2.ฐานธรณีภาค   ( Asthenosphere )
          อยู่ใต้แนวแบ่งเขตโมโฮโรวิซิกไปจนถึงระดับ 700 Km  เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วเพิ่มขึ้นตามระดับ แบ่งเป็น 2เขต 
            - เขตความเร็วต่ำ  ที่ระดับความลึก  100-400 Km 
            -เขตที่มีการเปลี่ยนแปลง  ที่ระดับความลึก  400-700 Km 
    3.มีโซสเฟียร์    ( Mesospere )   
          อยู่บริเวณเนื้อโลกชั้นล่าลึกประมาณ  700-2,900 Km มีความเร็วสม่ำเสมอ เพราะเป็นของแข็ง 
     4.แก่นโลกชั้นนอก   ( Outer  core ) 
             ที่ระดับความลึก  2,900 - 5,150 Km  คลื่น P  ลดความเร็วลง  แต่ไม่พบคลื่น S  เพราะเป็นเหล็กหลอมละลาย 
     5.แก่นโลกชั้นใน   ( Inner  core ) 
               ที่ระดับความลึก  5,150 -6,371 Km ที่จุดศูนย์กลางของโลก  คลื่น P  เพิ่มความเร็วขึ้นเนื่องจากความกดดันแรงกดดันภายในทำให้ เหล็กเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง 



  
การแบ่งโครงสร้างโลกตามองค์ประกอบเคมี 
    โลกมีอายุมาแล้วประมาณ  4,600 ปี ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น 

          1.เปลือกโลก ( Crust ) ประกอบด้วย
                 - เปลือกโลกทวีป มี  Si และ Ai เป็นส่วนใหญ่ มีความหนา                            35-40  Km  บางแห่งมีความหนา 70 Km  
                 - เปลือกโลกมหาสมุทร มี Si  และ Mg เป็นส่วนใหญ่ มี
                           ความหนา  5-10  Km  

          
         2.เนื้อโลก ( Mantle ) มีความลึกประมาณ 2,900 Km ประกอบด้วยของแข็งเป็นส่วนใหญ่  ส่วนบนของเนื้อโลก กับชั้นเปลือกโลกรวมกันเรียกว่า ธรณีภาค มีความหนาประมาณ  100 Km ส่วนชั้นเนื้อโลกมีความลึก  100-350 Km เรียกว่า  ชั้นฐานธรณีภาค  เป็นชั้นของหินหลอมละลาย เรียกว่า  แมกมา 
               3.แก่นโลก  ( Core )  
                     -แก่นโลกชั้นนอก  มีความหนา  2,900-5,100 Km 
                           ประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิลที่หลอมละลายเป็น
                            ของเหลว
                     -แก่นโลกชั้นใน  ประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิลแต่เป็น
                           ของแข็ง เพราะมีอุณหภูมืสูงประมาณ 6,000 องศา
                            เซลเซียล






















ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม