บทที่ 4
ธรณีประวัติ
ข้อมูลทางธรณีวิทยาอธิบายความเป็นมาของพื้นที่ในอดีต ที่นิยมใช้มี 3 อย่าง ดังนี้
1.อายุทางธรณีวิทยา
-อายุเทียบสัมพันธ์ คือ อายุเปรียบเทียบ หาได้โดยอาศัยข้อมูลจาก ซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุแล้วนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า ธรณีกาล จะบอกได้ว่าเป็นหินในยุคไหนหรือมีช่วงอายุเป็นเท่าใด
-อายุสัมบูรณ์ เป็นอายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน คำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหิน เช่น
-หินที่มีอายุมากเป็นแสนเป็นล้านปี ซึ่งเป็นหินต้นกำเนิดแร่ดีบุก จะใช้ Rb-87
-ตะกอนหรือซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า 70000 ปี จะใช้วิธีกัมมันตภาพรังสี C-14
ซากดึกดำบรรพ์ (Fossil)
-ซากดึกดำบรรพ์เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ตายไปแล้วทับถมกันอยู่ในชั้นหินตะกอนแล้วเปลี่ยนเป็นหิน ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ และร่องรอย
-ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดปรากฏให้เห็นเป็นช่วงสั้นๆ ดังนั้นสามารถใช้บอกอายุของหินที่มีซากนั้นอยู่ได้ ซากดึกดำบรรพ์ประเภทนี้เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
-ประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์ดัชนี ไทรโลไบต์ บริเวณเกาะตะรุเตา แกรปโตไลต์ อำเภอฝาง เชียงใหม่
ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
ซากดึกดำบรรพ์ลูกช้างแมมมอธที่สมบูรณ์ พบที่ประเทศรัสเซีย
ซากยุงในอำพัน อายุ 35 ล้านปี
ไทรโลไบต์
การลำดับชั้นหิน- เนื่องจากชั้นหินเกิดจากการทับถมกันของตะกอน ดังนั้นหินตะกอนที่อยู่ด้านล่างจะเกิดก่อน และหินที่อายุน้อยกว่า จะซ้อนอยู่ด้านบนเป็นชั้นๆตามลำดับ
- การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี แผ่นดินไหว หรือ ภูเขาไฟระเบิด ทำให้ชั้นหินที่อยู่ในแนวราบเกิดการเอียงเท
-โครงสร้างทางธรณีวิทยาในชั้นหิน เช่น รอยเลื่อน รอยคดโค้ง สามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่นั้นได้
1688upx com เข้า สู่ ระบบ วิธีการเข้าถึงและตะลุยโลกของโอกาสออนไลน์ที่ไม่เหมือนใคร คู่มือครอบคลุมนี้จะนำคุณผ่านกระบวนการขั้นตอนอย่างละเอียด PGSLOT เพื่อให้คุณมีความเชี่ยวชาญ
ตอบลบ